การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทพร้อมรับฟังความคิดเห็น ความต้องการ และความคาดหวังที่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียมีต่อบริษัทในการดำเนินธุรกิจ เพื่อนำมาพัฒนา และปรับปรุงแผนการดำเนินงาน รวมถึงการวางกลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กรมีการทบทวนเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมั่นใจว่า

บริษัทเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียได้เข้ามามีส่วนร่วมเสนอข้อคิดเห็นได้อย่างโปร่งใสและเหมาะสม ในการกำหนดกระบวนการรายงานโดยจำแนกวิเคราะห์ความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกำหนดวิธีการสื่อสารวิเคราะห์ขั้นตอนในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ กำหนดการมีส่วนร่วม จัดช่องทางรับข้อเสนอแนะ และช่องทางแจ้งข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้เสีย มีการพัฒนารายงานอย่างต่อเนื่องและนำข้อมูลเหล่านั้นมาบูรณาการ ใช้ในการบริหารงานธุรกิจของบริษัท

  1. ระบุผู้มีส่วนได้เสียและประเด็นสำคัญของธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน
  2. ประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและลบของผู้มีส่วนได้เสียได้รับจากธุรกิจ
  3. จัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียและประเด็นสำคัญของธุรกิจ

นำผลวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียเสนอต่อคณะกรรมการความยั่งยืนองค์กร เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสม

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้มีส่วนได้เสีย
วิธีการมีส่วนร่วม ความต้องการ /ความคาดหวัง การตอบสนอง
ลูกค้า
  • การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
  • มีการสื่อสารร่วมกันระหว่างการให้บริการ
  • การพบปะพูดคุยสร้างเครือข่ายและการเยี่ยมชมกิจการ
  • การจัดงานแสดงสินค้ากาประชาสัมพันธ์ในช่องทางที่หลากหลาย
  • การตอบรับข้อเสนอแนะอย่างทันท่วงที
  • การรับประกันสินค้าที่มีคุณภาพและบริการที่ตรงต่อเวลา สม่ำเสมอ
  • ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและความลับของลูกค้า
  • มีความโปร่งใสในด้านราคา
  • มีการบริการทางด้านเทคนิคให้ความรู้ความเข้าใจรวมถึงการพัฒนา
  • เข้าพบปะสม่ำเสมอ
  • สำรวจความพึงพอใจ โดยในปี 2566 ผลสำรวจ อยู่ที่ 96.6% มีการประเมินปีละ 1 ครั้ง
  • มีการตรวจสอบและรับประกันคุณภาพของสินค้า
  • ซื่อสัตย์ต่อลูกค้าเป็นสำคัญ
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการช่องทางการให้บริการใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
คู่ค้า
  • เยี่ยมชมกิจการและการตรวจสอบตามแผนประจำปี
  • การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจและเทคนิคต่างๆ ร่วมกัน
  • จัดการฝึกอบรมร่วมกัน
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างในสายโซ่อุปทาน
  • ปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม
  • มีกระบวนการจัดซื้ออย่างเป็นธรรม โปร่งใสตรวจสอบได้
  • สร้างความสัมพันธ์ระยะยาว
  • การพัฒนาร่วมกับคู่ค้า ประชุมหารือร่วมกัน
  • จัดทำหลักการปฏิบัติและจรรยาบรรณทางธุรกิจของคู่ค้า
  • ปรับปรุงทบทวนการจัดซื้อจัดจ้างและการเรียกเข้าสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน
  • จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
  • จัดกิจกรรม Opportunity Day ปีละ 3 ครั้ง
  • แจ้งข่าวสารให้กับผู้ถือหุ้นผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ
  • ช่องทางสื่อสารที่สะดวกในการแจ้งความประสงค์ หรือ ข้อร้องเรียน
  • ผลประกอบการที่ดีและยั่งยืน
  • บริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  • มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี และโปร่งใส
  • บริหารงานอย่างมีศักยภาพ และเติบโตอย่างยั่งยืน
  • มีการสื่อสารต่อผู้ถือหุ้นและ
  • นักลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินธุรกิจ
  • สร้างผลประกอบการที่ดีและจ่ายเงินปันผลเมื่อทำได้
  • เปิดเผยข้อมูลของบริษัทอย่างโปร่งใสและทันเหตุการณ์
  • จัดทำและปรับปรุงนโยบายและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ
  • มีการสื่อสารที่ชัดเจนและต่อเนื่องกับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน
  • จัดทำรายงานประจำปีและรายงานความยั่งยืน
สื่อมวลชน
  • พบปะเยี่ยมเยือนสื่อมวลชนในโอกาสต่างๆ การให้สัมภาษณ์ด้านธุรกิจ
  • การสื่อสารในหลากหลายรูปแบบทั้ง
  • การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
  • ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
  • พบปะสื่อมวลชนอย่างสม่ำเสมอ
  • เชิญสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมกิจการ
  • สร้างความเชื่อมั่นว่าข้อมูลที่นำเสนอมีความโปร่งใสและถูกต้อง
ภาครัฐ
  • เข้าร่วมสนับสนุนจากโครงการต่างๆ ของภาครัฐที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
  • เข้าร่วมเป็นพันธมิตรในโครงการของภาครัฐ
  • ให้การสนับสนุนและปฏิบัติตามมาตรการหรือกิจกรรมของภาครัฐทั้งในระดับท้องถิ่น
  • ปฏิบัติตามและมีส่วนร่วมกับมาตรการและกิจกรรมของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
  • พัฒนาโครงการความร่วมมือระหว่างกันของภาครัฐและภาคเอกชน
ชุมชน
  • เยี่ยมชุมชนและรับฟังความคิดเห็นของชุมชน โดยรอบในเรื่องของผลกระทบและโอกาส
  • มีส่วนร่วมกับชุมชนผ่านการจ้างงานและการจัดซื้อวัตถุดิบ และกิจกรรมการพัฒนาชุมชน
  • การจ้างงาน
  • ลดผลกระทบทางลบที่มีต่อชุมชน สังคมโดยรอบ
  • เคารพในวิถีชีวิตของชุมชน
  • ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือ
  • รับฟังเสียงจากชุมชนและมีการสื่อสารร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
  • พัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับชุมชน
  • รายงานข้อมูลตามกฎหมาย การนำส่งภาษี การควบคุมคุณภาพมาตรฐานของสิ่งแวดล้อม
  • การให้ข้อมูลข่าวสารความคืบหน้าของบริษัท
  • ส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างในท้องถิ่น
พนักงาน
  • กิจกรรมพบปะพูดคุยผู้บริหารและพนักงานอย่างสม่ำเสมอ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
  • กิจกรรมพบปะประชุมผู้บริหารและพนักงานในการรายงานผลงาน ปีละ 2 ครั้ง
  • จัดกิจกรรมสันทนาการในองค์กร ผ่อนคลายการทำงานและทำกิจกรรมร่วมกันตามประเพณี
  • จัดกิจกรรมเพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างพนักงานและผู้บริหาร
  • ปรับปรุงภูมิทัศน์ขององค์กรให้มีความปลอดภัยกับตัวพนักงานและผู้มาเยือน
  • เปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็นของพนักงานในองค์กร ทั้งจากการประชุม และจัดทำกล่องรับฟังความคิดเห็น นำมาหารือร่วมกับผู้บริหาร ปรับปรุง และแก้ไขจุดบกพร่อง
  • สำรวจความสนใจหลักสูตรการฝึกอบรม ปีละ 1 ครั้ง
  • จัดการฝึกอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน
  • มีสวัสดิการที่มั่นคง ครอบคลุมถึงครอบครัว
  • ให้ความมั่งคงในหน้าที่การงาน ได้รับการพัฒนาศักยภาพและความก้าวหน้า
  • ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมและเป็นธรรม พนักงานสามารถเสนอแนะความคิดเห็นได้
  • ชั่วโมงการทำงานและการจ่ายเงินที่เหมาะสม
  • อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี
  • เสริมสร้างความก้าวหน้าในสายอาชีพสำหรับพนักงานในองค์กร และให้ผลค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นๆ ที่เหมาะสม
  • จัดหลักสูตรฝึกอบรมตามมาตรฐาน
  • สำรวจชีวิตและความเป็นอยู่ของพนักงานในการทำงาน ชีวิตและครอบครัว
  • จัดกล่องรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน และรักษาความลับของพนักงานในการร้องเรียน
  • ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น
  • จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานในแต่ละหน่วยงานขององค์กร
เจ้าหนี้ สถาบันทางการเงิน
  • จัดการประชุม พบปะหารือ
  • จัดการต้อนรับการเข้าเยี่ยมชมกิจการ ความคืบหน้า
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลง ภาระผูกพันและการชำระเงินตามกำหนดเวลา
  • การบริหารสภาพคล่องที่ดี
  • มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • มีผลประกอบการที่ดี
  • มีการบริหารความเสี่ยงและการจัดการวิกฤตที่ดี
  • รายงานฐานะทางการเงินของบริษัทแก่เจ้าหนี้ อย่างถูกต้อง ตรงเวลา สม่ำเสมอ
  • มีการสื่อสารที่ชัดเจนและต่อเนื่องในช่วงเวลาที่สำคัญของธุรกิจ