ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เป้าหมาย

อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงาน = 0

ผลการดำเนินงาน

ชาย = 1 คน / หญิง = 1 คน

มาตรการดูแลด้านความปลอดภัย

  1. บริหารจัดการด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ISO45001
  2. จัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย ส่งเสริมความตระหนักให้ทุกหน่วยงานมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
  3. จัดอบรมด้านความปลอดภัยให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจ ปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

การดำเนินงาน

  1. การประชุมและร่วมตรวจพื้นที่ความปลอดภัยร่วมกับคณะความปลอดภัย คณะ 5 ส. และผู้บริหาร ทุกเดือน
  2. การส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน
  3. นำกิจกรรมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการส่งเสริมความรู้ให้กับพนักงานร่วมสนุกในช่วงเวลาว่าง
  4. ส่งเสริมกิจกรรม CCCF ในการตรวจสอบและการค้นหาอันตราย 6 ประเภท
  5. ส่งเสริมกิจกรรมการแจ้งเหตุการณ์ที่เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss ในระบบที่ทางบริษัทได้สร้างขึ้น

เป้าหมาย

อัตราการเจ็บป่วยจากโรคในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด = 0

ผลการดำเนินงาน

ชาย = 0 คน / หญิง = 0 คน

มาตรการดูแลด้านสุขภาวะ

  1. มีการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาวะในสถานการณ์โรคระบาด ทั้งพนักงานและผู้รับเหมา
  2. ตรวจสุขภาพพนักงานตั้งแต่เริ่มเข้างาน ระหว่างงาน
  3. ตรวจสุขภาพเชิงรุกในสถานประกอบกิจการ ร่วมกับประกันสังคม ตรวจและติดตามผล 2 ครั้ง ต่อปี
  4. การตรวจสุขภาพประจำปี ทั้งการตรวจสุขภาพทั่วไปและการตรวจสุขภาพตามปัจจัยความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยมีการวิเคราะห์ผลตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน
  5. จัดให้มีการตรวจวัดสภาพพื้นที่ในการปฏิบัติงาน
  6. มีการฝึกซ้อมเหตุการฉุกเฉินทางการแพทย์โดยทีมช่วยเหลือของบริษัท
  7. มีการตรวจสุขภาพตามปัจจัยความเสี่ยงให้กับพนักงานผู้รับเหมา
  8. โครงการเราเคยผอม ครั้งที่ 2 จำนวนผู้เข้าร่วม 16 คน
  9. โครงการทิ้งบุหรี่ ปี 2566 จำนวนผู้ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาด 2 คน

โครงการ : เราเคยผอม

รายละเอียดโครงการ

เป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2565 จากผลตอบรับของโครงการครั้งที่ผ่านมาที่สนับสนุนให้พนักงานออกกำลังกาย การแบ่งปันความรู้ด้านสุขภาพ การทานอาหาร จากเพื่อนพนักงานที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้โครงการเราเคยผอมทำต่อเนื่องมายังปัจจุบัน (ม.ค.-ธ.ค. 2566) มีจำนวนผู้สมัครเข้าโครงการ 16 คน และอยู่เป็นผู้พิชิตความท้าทายจนครบโครงการ

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  1. เพื่อสุขภาพและร่างกายที่แข็งแรง
  2. เพื่อร่างกายทำงานได้ดีขึ้นห่างไกลจากโรคต่างๆ โรคอ้วน โรคเบาหวาน
  3. การใช้ชีวิตประจำวันดีขึ้นจากอาการเหนื่อยง่าย ปวดหลัง ปวดเข่า สุขภาพร่างกายและ จิตใจแข็งแรง
  4. ลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคกระดูกและข้อ เป็นต้น

ประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการพัฒนาบุคลากร

  1. ส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่ดี
  2. ส่งเสริมให้พนักงานมีกำลังใจที่ดีในการดูแลสุขภาพ
  3. ลดอัตราการเจ็บป่วยของพนักงาน
  4. เป็นการสร้างความผูกพันธ์ระหว่างพนักงานและองค์กร

โครงการ : ทิ้งบุหรี่

รายละเอียดโครงการ

โครงการทิ้งบุหรี่เป็นโครงการส่งเสริมให้พนักงานเลิกสูบบุหรี่ ที่มาของการดูแลสุขภาพและเป็นการสร้างความตระหนักถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การปลูก จนถึง การสูบ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายในพื้นที่ของโรงงาน บริษัทได้กำหนดให้พนักงานที่เข้าร่วมโครงการเลิกสูบบุหรี่ ได้รับความรู้ พิษภัยของการสูบ ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ และการทำลายสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้พนักงานทราบถึงพิษภัยที่เกิดจากบุหรี่ และสร้างแนวทางให้กับผู้เลิกสูบบุหรี่
  2. ลดความเสี่ยงของโรคอ
  3. ครอบครัว หรือ คนรอบข้างไม่สูดดมควันบุหรี่ ที่เป็นอัตราย
  4. สมรรถภาพทางร่างกายดีขึ้น
  5. เปลี่ยนเป็นเงินออม

ประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการพัฒนาบุคลากร

  1. เพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่องค์กรต่างๆ
  2. มีส่วนร่วมในการส่งเสริมนโยบายด้านสุขภาพ
  3. อัตราการสูบบุหรี่ของพนักงานลดลง

การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน

บริษัทมีการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีระเบียบวิธีการปฏิบัติการชี้บ่งอันตรายความเสี่ยงและการปรับปรุงการแก้ไขครอบคลุมกิจกรรมในการทำงาน ดังนี้

  1. การประเมินประเด็นอันตราย ความเสี่ยงและวิธีปรับปรุงแก้ไข เพื่อลดและควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับยอมรับได้ โดยมีการทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. สื่อสารเรื่องความปลอดภัยผ่านการประชุม Safety Talk ก่อนเริ่มปฏิบัติงานและตรวจสอบความปลอดภัยและสอดคล้องกับการปฏิบัติงาน โดยมีการประชุมร่วมกันในทุกวันอังคารของทุกเดือน
  3. มีการประเมินความเสี่ยงโดยผู้รับผิดชอบในแต่ละหน่วยงาน ทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ผลการประเมินความเสี่ยงในปี 2566 พบว่ามีกิจกรรมที่มีความเสี่ยงที่มีโอกาสก่อให้เกิดความเสี่ยง ได้แก่ วัสดุกระแทก หรือ การขับรถชน โดยมีมาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เหมาะสม ได้แก่ การประเมินอุปกรณ์ถังดับเพลิง การสวมใส่อุปกรณ์ในการปฏิบัติหน้างานนั้นๆ หรือการให้ความรู้เพิ่มเติมกับผู้ปฏิบัติงาน

โครงการ : Safety Talk

รายละเอียดโครงการ

จัดให้มีการพูดคุยเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยก่อนการเริ่มปฏิบัติงานภายใต้กิจกรรมความปลอดภัย KYT ให้กับทุกส่วนงานในโรงาน ผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับเหมา ก่อนเริ่มงาน เพื่อการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและเป็นการทำความเข้าใจในทางเดียวกัน ได้แก่ การใช้งานยกรถ และแจ้งสถิติความปลอดภัยในการทำงาน

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  1. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในทีม เป็นการสร้างให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
  2. เพื่อเป็นการทบทวนการทำงานทีละขั้นตอนอย่างถูกวิธี
  3. สร้างแรงกระตุ้นให้เป็นการทำงานอย่างปลอดภัย
  4. สร้างการสื่อสารและความร่วมมือระหว่างผู้ทำงานและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
  5. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการพัฒนาบุคลากร

  1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานและลดต้นทุน ส่งผลให้เกิดเป็นการแข่งขันทางธุรกิจ
  2. ได้พนักงานที่เป็นกลุ่มคนที่มีศักยภาพมากขึ้น
  3. เป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีการสื่อสาร สร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน
  4. ลดความเสี่ยงและความสูญเสียในการเกิดอุบัติเหตุ
  5. ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีสร้างความมุ่งมั่นเป็นทีมเป็นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การดำเนินงานความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในปี 2566

สถิติอัตราการบาดเจ็บจากการทำงานโดยรวม:
TRIR (กรณี / 200,000 ชั่วโมงทำงาน)

สถิติอัตราการบาดเจ็บจากการทำงานจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน:
LTIFR (กรณี / 200,000 ชั่วโมงทำงาน)

สถิติอัตราความถี่ของการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน:
OIFR (กรณี / 200,000 ชั่วโมงทำงาน)