การบริหารจัดการของเสียและการรีไซเคิล

เป้าหมาย

  1. เพิ่มมูลค่าจากการขายวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายและไม่ใช้แล้วร้อยละ 10
  2. ลดปริมาณของเสียที่ส่งกำจัดร้อยละ 10 เมื่อเทียบจากปี 2565

ผลการดำเนินงานของเสียไม่เป็นอันตราย

  • ในปี 2566 ปริมาณของเสียที่ไม่เป็นอันตราย เพิ่มขึ้น 13.24% หรือ 6.42 กิโลกรัม/ตัน เมื่อเทียบจากปี 2565
  • ในปี 2565 ปริมาณของเสียที่ไม่เป็นอันตราย อยู่ที่ 5.57 กิโลกรัม/ตัน

ผลการดำเนินงานของเสียเป็นอันตราย

  • ในปี 2566 ปริมาณของเสียที่เป็นอันตราย และส่งกำจัด ลดลง 9.65% หรือ 4.59 กิโลกรัม/ตัน เมื่อเทียบจากปี 2565
  • ในปี 2565 ปริมาณของเสียที่เป็นอันตราย และส่งกำจัด อยู่ที่ 5.08 กิโลกรัม/ตัน

กิจกรรมที่ส่งเสริม

  1. ดำเนินโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรต่อเนื่องทุกปี เพื่อปลูกจิตสำนึก สร้างความตระหนักในด้านการใช้ทรัพยากร ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการกำจัดของเสีย มีการกำหนดเป้าหมาย และวิธีการวัดผลอย่างชัดเจน รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีมีความปลอดภัย
  2. ดำเนินการเพิ่มสถานีคัดแยกขยะรีไซเคิลและเพิ่มประเภทการคัดแยกขยะ เพื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์ใหม่ และช่วยกระตุ้นพฤติกรรมของพนักงานในการคัดแยกขยะให้ถูกต้องก่อนทิ้งทุกครั้งผ่านกิจกรรมการตรวจ 5ส ซึ่งจัดเป็นการสร้างจิตสำนึกให้แก่พนักงาน
  3. กิจกรรมคัดแยกขยะรีไซเคิลจะนำรายได้จากการขายคืนกลับไปยังพนักงานทุกคน โดยกำหนดให้คณะกรรมการ 5ส เป็นผู้ดำเนินการ
  4. การบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการแปรรูปกากแคลเซียมเป็นอิฐบล็อก จำนวน 4,813 ก้อน ช่วยลดปริมาณของเสียส่งกำจัด จำนวน 12,514 กิโลกรัม และลดค่ากำจัดของเสีย 59,066 บาท

โครงการคัดแยกขวดน้ำ

โครงการคัดแยกขวดน้ำพลาสติกใส PET เช่น ขวดน้ำดื่ม มาทิ้งที่จุดรับพลาสติกที่บริษัทกำหนดให้แบบถัง หรือมอบให้กับคณะ 5ส เพื่อร่วมโครงการแลกขวดน้ำเป็นสิ่งของ และคณะ 5ส เป็นตัวแทนในการรับ นำมาเก็บรวบรวมไว้ยังจุดจัดเก็บของโครงการขวดน้ำพลาสติก ในการแยกขวดน้ำพลาสติกใส กำหนดให้แยกฝาขวด ฉลาก และขวดใส ออกจากกัน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ บริษัทได้รวบรวมขวดน้ำพลาสติกใสได้ทั้งสิ้น 0.38 ตัน และขนส่งไปยังวัดจากแดง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำมาสร้างเป็นวัตถุทาน ซึ่งเป็นจุดรับขวดน้ำ PET เพื่อนำมาทอผ้าไตรจีวร Recycle โดยใช้ขวดพลาสติก 60 ขวด มาทอเป็นผ้าไตรจีวรได้ 1 ชุด ซึ่งสามารถทอเป็นผ้าไตรจีวรได้ 209 ชุด

โครงการอิฐบล็อก (การบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม)

ในปี 2566 บริษัทได้กำหนดเป้าหมายจำนวนอิฐบล็อก 3,000 ก้อน (ม.ค.-ธ.ค.2566) สามารถทำได้จริง 4,813 ก้อน สามารถลดการส่งกำจัดกากอุตสาหกรรมไปได้ 12,514 กิโลกรัม ซึ่งโครงการอิฐบล็อกเป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากการใช้จำนวนคนทำตั้งแต่ 3-4 คน บริษัทได้ลงทุนอุปกรณ์และเครื่องจักร ซึ่งทำให้ในการผลิตอิฐบล็อกลดจำนวนคนทำเหลือเพียง 2 คน และลดการใช้แรงที่มาก เนื่องจากเปลี่ยนเป็นเครื่องทำอิฐบล็อกแบบ Auto ที่ไม่ต้องใช้แรงกด เพื่อให้ง่าย สะดวก อิฐบล็อกมีมาตรฐาน ซึ่งสามรถนำไปใช้ประโยชน์ให้กับพื้นที่รอบบริษัท หรือชุมชน ซึ่งปัจจุบันทางโรงงานได้สร้างพื้นที่ผลิตอิฐบล๊อก แสดงถึงการสนับสนุนต่อยอดโครงการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสะดวกต่อการผลิต และเป็นแห่งเรียนรู้งานของบุคคลภายนอก ผลการดำเนินงาน - ปรับปรุงทัศนียภาพ ปูทางเดินสวนหย่อมโดยรอบ 193 ตารางเมตร

การสนับสนุนร่วมกับมหาวิทยาลัย และเพื่อสร้างเครือข่าย CIRCULAR ECONOMY

บริษัทมุ่งมั่นนำองค์กรไปสู่การเป็น CIRCULAR ECONOMY ที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการจัดการของเสียให้กลับมามีคุณค่าอีกครั้ง โดยร่วมกับ มหาวิทยาลัยต่างๆ บริษัท และองค์กร ในการสนับสนุนกากแคลเซียม หรือแม่สีต่างๆ ที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการผลิตส่งต่อเพื่อสร้างผลงานนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง จากความร่วมมือ บริษัทได้เป็นส่วนหนึ่งในงาน BANGKOK DESIGN ที่ผ่านมาร่วมกับ QUALY x Salee Colour ในโปรเจค Rerock หินกรวดตกแต่งสวน ที่ไม่ต้องนำมาจากแหล่งธรรมชาติ เพราะทำจากถุงหรือฟิล์มพลาสติกยืด (LDPE) ที่ผ่านการบริโภคแล้ว โดยรวบรวมผ่านโครงการ ‘Won’ (บมจ.TPBI / TPBI Group นำมาผสมเข้ากับแคลเซียมที่เป็นเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรม (บมจ. สาลี่ คัลเล่อร์ / Salee Colour PLC.) รูปทรงของก้อนกรวด Rerock ถูกออกแบบมาให้ประหยัดพลังงาน และลดของเสียในการผลิต เพราะไม่ต้องควบคุมรูปทรง ประหยัดทรัพยากรด้วยการใช้ปริมาณก้อนหินที่น้อยกว่า เพื่อปกคลุมพื้นที่ๆเท่ากัน สามารถผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลได้หลากหลายประเภท และสามารถผลิตตามโทนสีที่ต้องการได้ (ขึ้นอยู่กับสีที่มาจากวัสดุต้นทางด้วย) ที่สำคัญเมื่อเลิกใช้งานยังสามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ Rerock ได้รางวัลออกแบบยอดเยี่ยม Design excellent Award 2022 / DEmark, Thailand