การดูแลพนักงาน

การวางแผนกำลังคนและการสรรหา

เป้าหมาย

อัตราส่วนของการจ้างงานตามแผนงาน >95%

ผลการดำเนินงาน

จำนวนอัตรากำลังคนเฉลี่ย 92.26%

ผลการดำเนินงาน

  1. จัดทำแผนงานสรรหาในเชิงรุก ในการประชาสัมพันธ์นอกสถานที่
  2. จัดทำแผนงานสรรหาตามสื่อต่างๆ ในโลกออนไลน์มากขึ้น
  3. จัดทำข้อตกลงร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการฝึกงานของนักศึกษาเข้าฝึกงานกับบริษัท
  4. เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมและสมัครงาน
  5. สร้างเครือข่ายให้กับพนักงานใน “โครงการเพื่อนได้งานเราได้เงิน” เพื่อเป็นการชักชวนเพื่อนมาทำงานกับบริษัท

การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในองค์กร

เป้าหมาย

ส่งเสริมการฝึกอบรมพนักงานทุกระดับไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง/คน/ปี

ผลการดำเนินงาน

จำนวนอบรมเฉลี่ย 36.42 ชั่วโมง/คน/ปี

ผลการดำเนินงาน

  1. จัดการอบรมพัฒนาการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ (E-Learning) ในหลักสูตรของตลาดหลักทรัพย์
  2. ระบบการจัดการความรู้ภายในองค์กร (Knowledge Base) เพื่อให้พนักงานสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ทำงาน
  3. หลักสูตรการอบรมพัฒนาผู้นำ สร้างผู้นำขององค์กร
  4. สร้างระบบการพัฒนา Technical Competency ขององค์กร
  5. การพัฒนา Technical Competency แต่ละตำแหน่งงาน

หลักสูตรการพัฒนาบุคลากร

ชื่อโครงการ

สร้างระบบการพัฒนา Technical Competency ขององค์กร รายละเอียดโครงการ บริษัทได้จัดเตรียมแผนการพัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นต้องมีในแต่ละสายอาชีพ และเป็นการดึงศักยภาพของแต่ละบุคคล เพื่อบริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี 2566 เป็นการทดลองกลุ่มย่อยได้แก่ แผนกบุคคลและแผนกซ่อมบำรุง เพื่อวิเคราะห์หลักสูตร และการประเมินหลักสูตร ซึ่งเป็นแผนพัฒนาต่อในปีถัดไป

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  1. ได้รับการพัฒนาความรู้ และทักษะที่มีความชำนาญให้มีประสิทธิภาพ
  2. ได้ทราบถึงสมรรถนะ ความสามารถของตัวเอง และสิ่งที่ถนัด ที่ตรงตามความต้องการขององค์กร
  3. ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เติบโต จากความสามารถ
  4. มีส่วนช่วยในการพัฒนาองค์กร หรือการแข่งขันทางธุรกิจ
  5. ได้ฝึกฝนการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความสามารถในการเป็นผู้นำ การแก้ไขปัญหาและการใช้ไหวพริบ

ประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการพัฒนาบุคลากร

  1. มีแผนอัตรากำลังคนในโครงสร้างองค์ที่ชัดเจน
  2. เพื่อส่งเสริมหลักสูตรการอบรมตรงกลุ่มอาชีพอย่างมีทิศทาง
  3. เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการส่งเสริมความรู้ใหม่ๆ ให้กับองค์กร เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ
  4. มีแผนโครงสร้างการสืบทอดตำแหน่งที่ชัดเจน
  5. สามารถกำหนดเกณฑ์สมรรถนะในการคัดเลือกพนักงาน และประเมินความสามารถของผู้สมัครงาน
  6. การบริหารการประเมินผลการปฏิบัติงาน การเลื่อนตำแหน่ง และการขึ้นเงินเดือน
  7. สามารถเพิ่มการแข่งขันทางธุรกิจ การขยายธุรกิจ หรือ โอกาสใหม่ๆ จากการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน

สร้างแรงจูงใจและการรักษาพนักงาน

การประเมินผลการทำงาน

การประเมินผลการทำงานถือเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินที่ช่วยชี้วัดความสำเร็จในการปฏิบัติงานของพนักงาน ในเรื่องของความสามารถในการทำงานและศักยภาพที่ช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จ ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมีส่วนที่นำมาพิจารณาในการกำหนดค่าตอบแทน และนำมาวิเคราะห์โครงการพัฒนาศักยภาพให้แก่พนักงาน

การดำเนินงานและผลการดำเนินงาน

100%
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
KPI + Performance Evaluation

ร้อยละ 2.38
อัตราการลาออกของพนักงาน
ในปี 2566

อัตราการเลื่อนตำแหน่งของพนักงาน
ทั้งหมด 2 คน คิดเป็นร้อยละ 100
เพศชาย จำนวน 2 คน


โครงการ “Salee Money Care”

เป็นแนวคิดในการส่งเสริมการวางรากฐานการเงินที่มั่นคงให้กับพนักงาน ตั้งแต่กลุ่มปกติ กลุ่มมีหนี้สิน กลุ่มเกษียณ เพื่อให้พนักงานทุกคนมีการบริหารจัดการทางการเงิน สร้างวินัยในการออมเงิน และลงทุนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ 2008 ถึงปัจจุบัน และมีแผนในการพัฒนาโครงการ Salee Money Care อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง โดยมีแผนงานภาพรวม ดังนี้

ความคาดหวัง/เป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย
เครื่องมือ
ตัวชี้วัด
1.การบริหารจัดการทาง การเงิน 1) พนักงานทุกคน
2) พนักงานสถานะการเงิน (+)
3) พนักงานกลุ่มที่เสียภาษี
4) พนักงานอายุ 36 ปีขึ้นไป
1) การอบรมการเงินเบื้องต้น
2) การอบรมวางแผนและบริหารการเงิน
3) การอบรมวางแผนเกษียณ
พนักงานผู้เข้าร่วม 100% สามารถบอกสถานะการเงินได้ (-+)
จำนวนสถานการณ์เงิน (+) และผู้เสียภาษีเข้าอบรม 100 %
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 80% ขึ้นไป
2.สร้างวินัยในการออม พนักงานทุกท่าน สหกรณ์ออมทรัพย์
1) ออมหุ้นสหกรณ์
2) เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ
1) จำนวนคนหักเงินค่าหุ้นเพิ่มขึ้น 10% ภายในปี 2024
2) จำนวนผู้เปิดบัญชีเพิ่มขึ้น 100% ของจำนวนผู้ฝากปัจจุบัน
โครงการออมด้วยกัน จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น 20%
3.การลงทุนเบื้องต้น พนักงานสถานะการเงิน (+)
และผู้เข้าร่วมโครงการ EJIP
1) ความรู้เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น
2) การใช้ Application
พนักงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรม 100%
4.เงินช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน พนักงานที่เดือดร้อนฉุกเฉิน และไม่มีแหล่งเงินทุน Emergency Money Help จำนวนผู้ขอความช่วยเหลือลดลง 25% จากข้อมูลปีล่าสุด

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  1. พนักงานมีความรู้ความสามารถในการวางแผนการใช้เงินได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ปลอดหนี้ก่อนวัยเกษียณอายุการทำงาน ทำให้มีเงินเก็บออมไว้ใช้ยามหลังเกษียณ
  3. มีสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรง เป็นการสร้างวินัย และความมั่นคงทางการเงิน

ประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการพัฒนาบุคลากร

  1. เป็นองค์กรที่วางรากฐานความมั่นคงทางการเงินให้กับพนักงาน
  2. เป็นการช่วยเหลือพนักงานให้ปลอดหนี้ ช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่
  3. เป็นการสร้างความผูกพันธ์ระหว่างพนักงานและองค์กร

โครงการ ออมด้วยกัน เฟส 2

สร้างวินัยการออม ในปี 2566 (ม.ค.-ธ.ค.) ออมเงินทุกเดือนแบบขั้นบันไดสร้างความท้าทายให้ผู้พิชิตรางวัล ตามหัวข้อการประเมินทุกเดือน 1.ความรับผิดชอบ ความสม่ำเสมอ 2. การใช้งานเทคโนโลยี 3. การตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้น (ออมเพิ่มขั้นต่ำ 50 บาท/เดือน) โดยมี ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 87 คน

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  1. พนักงานมีเงินออมสะสมเพิ่มขึ้น
  2. พนักงานมีระเบียบวินัยในการออมเพิ่มขึ้น
  3. พนักงานรู้จักการใช้เทคโนโลยีในการฝากเงิน ถอนเงิน

ประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการพัฒนาบุคลากร

  1. เป็นการช่วยเหลือให้พนักงานมีเงินออม
  2. เป็นการส่งเสริมวินัยในการออมเงิน และรักการออม
  3. เป็นการสร้างความผูกพันธ์ระหว่างพนักงานและองค์กร

โครงการ เกษียณอายุ

โครงการเกษียณอายุเป็นโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้กลุ่มเตรียมตัวเกษียณ และ กลุ่มเกษียณอายุ ได้เรียนรู้และเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้านให้เกิดความพร้อมต่อการที่จะต้องหยุดจากอาชีพที่เคยทำ หันกลับมาดูแลสุขภาพและการใช้ชีวิต ในแนวทางที่มีความสุข รวมถึงสุขภาพทางการเงินเป็นการเตรียมความพร้อมเมื่อเกษียณอายุแล้ว

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  1. ได้รับคำแนะนำด้านการเงิน เศรษฐกิจ และสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ก่อนและหลังเกษียณ
  2. ได้รับความรู้การดูแลสุขภาพกาย และจิตใจ
  3. ได้เตรียมความพร้อมและเป็นการปรับตัว

ประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการพัฒนาบุคลากร

  1. ส่งเสริมให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข
  2. บริษัทสามารถกำหนดกลยุทธ์และแผนงานทรัพยากรบุคคลและพัฒนาศักยภาพองค์กรเป็นการสร้างความผูกพันธ์ระหว่าง พนักงานและองค์กร